ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Corporate Governance และ Social Responsibility มีความสำคัญอย่างไร


Corporate Governance (บรรษัทภิบาล) หมายถึง กระบวนการ กิจกรรม หรือ กลไกที่องค์กรหรือบริษัท กระทำเพื่อให้เกิดการจัดการที่ดีในองค์กรหรือ เรียกว่า ธรรมาภิบาล (Good Corporate Governance)  ดังนั้น Corporate Governance จึงเป็นระบบที่จัดให้มีกระบวนการ โครงสร้าง และการควบคุมกิจการให้มีความรับผิดชอบตามหน้าที่ด้วยความโปร่งใส สามารถสร้างความสามารถในการแข่งขันเพื่อรักษาเงินลงทุนและเพิ่มคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว ภายใต้กรอบของการมีจริยธรรมที่ดี โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ได้แก่ ผู้ถือหุ้น ลูกค้า พนักงาน และสังคมโดยรวม ดังมีลักษณะที่สำคัญ คือ

-                   - การบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ

-                   - การตรวจสอบและอธิบายได้

-                   - ความโปร่งใส

-                   - การมีกรอบกฎหมายสำหรับการพัฒนา

                Corporate Governance (บรรษัทภิบาล) มีความสำคัญคือ ในการดำเนินการและการตัดสินใจทางกลยุทธ์หลายครั้งที่มีเรื่องของจริยธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากเป็นผลกระทบที่ส่งผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร  ดังนั้นกิจกรรมหรือกลยุทธ์บางประการอาจจะให้ประโยชน์แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย บางกลุ่มแต่ก็อาจจะส่งผลเสียต่อ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียบางกลุ่มก็ได้ เช่นการที่ภาวะเศรษฐกิจไม่ดีองค์กรอาจจะต้องมีการปิดโรงงานบางส่วน อาจจะเป็นผลเสียต่อพนักงานจำนวนมากที่ต้องตกงาน ซึ่งการตัดสินใจลักษณะนี้ก็จะมีจริยธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งผู้บริหารจะต้องเลือกและพิจารณาถึงต้นทุนที่เกิดขึ้น และผลตอบแทนที่จะได้รับจากการตัดสินใจนั้นๆ

                สรุป Corporate Governance จึงเป็นพื้นฐานที่จะช่วยพัฒนาสังคมทั้งหลายให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพโดยยึดหลัก 6 ประการ คือ

-                   1. ความซื่อสัตย์สุจริต

-                   2. การเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส

-                   3. ความรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้

-                   4. ความชอบธรรมและยุติธรรม

-                   5. ความมีคุณภาพและประสิทธิภาพ

-                   6. ความมีคุณธรรมและจริยธรรมขององค์กร

                ซึ่งถ้าองค์กรธุรกิจสามารถนำหลักดังกล่าวมาปรับใช้ก็จะสามารถนำพาองค์กรและสังคมก้าวไปสู่ความสำเร็จได้พร้อมกัน

                Social Responsibility (ความรับผิดชอบต่อสังคม) หมายถึง

-  คุณลักษณะทางคุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหาร หรือองค์กรธุรกิจที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของตน ในเรื่องเกี่ยวกับสาธารณสมบัติ วัฒนธรรม ประเพณี ทรัพยากรธรรมชาติ สภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน โดยวัดได้จากความรู้สึกที่แสดงออกถึงการรับรู้ การตอบสนอง การสร้างคุณค่า

-  ความรับผิดชอบที่องค์กรธุรกิจพึงมีต่อผลกระทบ จากการดำเนินงานทางธุรกิจที่เกิดขึ้นต่อสังคม หรือการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อปัญหาของสังคมที่องค์กรเข้าไปเกี่ยวข้อง ประกอบด้วย

-                   - ความรับผิดชอบต่อลูกค้า

-                   - ความรับผิดชอบต่อพนักงาน

-                   - ความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อม

Social Responsibility (ความรับผิดชอบต่อสังคม) มีความสำคัญคือ ในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันตั้งอยู่บนการแข่งขันที่รุนแรงเพิ่มขึ้น ดังนั้นการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ธุรกิจจึงจำเป็นต้องมีการปรับตัว เรียนรู้และพัฒนา อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทั้งทางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรับผิดชอบพื้นฐาน ที่องค์กรต้องมีต่อสังคม เช่นความรับผิดชอบต่อคุณภาพสินค้าหรือบริการที่จำหน่ายให้กับผู้บริโภค ความรับผิดชอบต่อผลตอบแทน สวัสดิการและความปลอดภัยของพนักงาน ความรับผิดชอบต่อความเสียหายของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อันเป็นผลเนื่องมาจากการผลิตสินค้า หรือการให้บริการ ซึ่งความรับผิดชอบดังกล่าวจะส่งผลโดยตรงต่อการบรรลุเป้าหมาย เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

"การควบคุม (Controlling)" กับการประยุกต์ใช้ Feed forward control, control concurrent control, Feedback control ในการทำงาน

                "การควบคุม ( Controlling )" การควบคุมและประเมินผล ประกอบด้วย การควบคุม การจัดนวัตกรรม และการเปผลี่ยนแปลง เป็นการประเมินการควบคุมให้ตรงกับเป้าหมายที่วางไว้ 4 ด้าน คือ ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา                 การควบคุมมีความสำคัญอย่างไร?                            การควบคุมจะทำให้กระบวนการทำงานอยู่ในช่วงเวลาการควบคุมที่กำหนดไว้ โดยมีการนำกระบวนการควบคุม 4 ขั้นตอน คือ 1) ตั้งเป้าหมายและตัวชี้วัด เป็นการสร้างข้อตกลงเบื้องต้นและเป้าหมายในการปฎิบัติงาน 2) วัดผลทำงานจริง โดยข้อมูลการปฎิบัติงานจริงดูได้จากสังเกตุ รายงานข้อมูลทางสถิติ รายงานด้วยวาจา รายงานสรุป 3) เปรียบเทียบผลการปฎิบัติงานจริงกับเป้าหมายและตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ 4) ทบทวนผลการปฎิบัติงาน เป็นการทบทวนผลการปฎิบัติงานว่าสูงหรือต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ และควรมีการแก้ไขอย่างไร   กระบวนการควบคุมสามารถนำมาประยุกต์ใช้ดังนี้ การควบคุมก่อนการดำเนินงาน ( Feed forward control ) เช่น การพิจารณาความความพร้อมในการใช้ทรัพยากร ที่ประกอบด้วย เงินทุน วัตถุดิบ เครื่องมื

"สร้างแรงจูงใจ" กับกิจกรรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์

                หลายคนคงเคยสงสัยว่ากิจกรรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีส่วนในการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานในองค์การได้อย่างไร ซึ่งหลากหลายกิจกรรมนำมาซึ่ง " กระบวนการบริหารทรัพยากร" ที่เกิดขึ้นภายในองค์กรที่จะช่วยสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน อันได้แก่                 การรับสมัครและคัดเลือก คือ การกำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพนักงาน คือ การิจารณาว่าคนเหมาะสมกับงานหรือตำแหน่งหน้าที่ที่ทำหรือไม่ การพิจารณาว่าคนเหมาะสมกับองค์การกหรือไม่ เช่น องค์การนี้สภาพแวดล้อมภายในองค์การมีความกดดัน การทำงานเร่งรีบ ใช้ทักษะและความรวดเร็วในการทำงาน จึงจำเป็นที่จะต้องคัดเลือกพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญมาทำงาน การพิจารณาตามสมรรถนะที่องค์การกำหนดขึ้น เช่น องค์การนี้ต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถพิเศษในด้านภาษา ก็ย่อมต้องการพนักงานที่สามารถพูดภาษาได้คล่องแคล่ว                 ผลการปฎิบัติงาน คือ เมื่อพนักงานเริ่มปฎิบัติงานแล้ว องค์การจะมีการเก็บรวบรวมผลการปฎิบัติงาน สังเกตและทำงานประเมินผลการปฎิบัติงานของพนักงาน เช่น งานที่ต้องนับจำนวนชิ้นงานในการผลิต และควบคุมระยะเวลาในการผลิต ผลการปฎิบัติงานก็จะดู